วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ

สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ


งานบริการเป็น หัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์ เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า "งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"
 
ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ

การ สื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการ ดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ  การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ  นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้ สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  ดังจะกล่าวต่อไปนี้

                สถาบันบริการสารสนเทศ   คือ  แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวม  จัดเก็บ  และให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้   มีหลายประเภทด้วยกัน   เช่น    ห้องสมุด     ศูนย์สารสนเทศ   ศูนย์ข้อมูล  เป็นต้น (  http://gold.rajabhat.edu/learn/ELEANING/information/satabun.htmวันที่ 15 กันยายน 2550)                    สถาบันบริการสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมีระบบ ให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ(http://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/it107/C7.htm 15 กันยายน 2550 )                    สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  องค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้อง การของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขตหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการให้บริการ  ( ชุติมา สัจจานันท์  2531: 157- 168  และ Atherton  1977: 85 -121 )                    สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ  สถาบัน บริการสารสนเทศแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ในทันทีที่สถาบันบริการสารสนเทศได้รับทรัพยากร สารสนเทศ  หรือทราบว่ามาสารนิเทศนั้นเกิดขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศใน เรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที
( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2541:353)                    สรุปได้ว่า  “สถาบันบริการสารสนเทศ”  คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม

ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ
วิทยา การ ความรู้ และเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้าน ต่างๆ ของสังคมอย่างกว้างขวาง ความก้าวหน้าของมนุษย์ในสังคมเกิดจากการถ่ายทอดและเรียนรู้ ดังนั้นสถาบันบริการสารสนเทศจึงมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในสังคมสารสนเทศ เช่นปัจจุบัน สถาบันบริการสารสนเทศมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์ข้อมูล หน่วยทะเบียน สถิติ ศูนย์วิเคราะห์สารนิเทศ ศูนย์ประมวลแจกจ่ายสารนิเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ และสถาบันบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ ดังนั้นจึงมีผู้รู้ได้แบ่งประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้(ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156) 

ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ (ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)

1. ห้องสมุด (Library) ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Liber ซึ่ง แปลว่าหนังสือห้องสมุด จึงมีความหมายว่าแหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และ สื่อโสตทัศน์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้1.1  ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries) คือ แหล่งวิทยากรที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและบรรจุ เป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ แต่จะรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ เช่น แถบเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์ไว้ด้วย ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน (Instructional Material Center) ศูนย์วัสดุการเรียน (Learning Material Resource Center) ศูนย์สื่อการศึกษา (Media Center)1.2  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries) คือ หัวใจสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนเครื่องในการสอน เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์ โดยมีบรรณารักษ์รับผิดชอบการบริหารและดำเนินงานห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สำนักหอสมุดกลาง เป็นต้น1.3  ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) คือ แหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือบุคคลบางกลุ่ม สารสนเทศที่สะสมในห้องสมุดเฉพาะจะเป็นสาขาวิใดวิชาหนึ่ง มุ่งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและให้บริการสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานส่วนมากสังกัดหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในอาคารของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด1.4  ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) คือ แหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้องสมุดประชาชนจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดได้ ดังนี้1)  ห้องสมุดประชาชน สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นห้องสมุดประชาชนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ขึ้นตรงต่องานห้องสมุดประชาชน กองสันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร เช่น ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี ซอยพระนาง บางเขต ปทุมวัน ฯลฯ2.)  ห้องสมุดประชาชน สังกัดกองปฏิบัติการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด อำเภอ3)  ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิล (British Council) ห้องสมุดสถานสอนภาษา เอยูเอ (AUA) หรือห้องสมุดที่ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดเนียลสันเฮย์ (Neilson Haya)4)  ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน เช่น ธนาคารศรีนคร ในกรุงเทพมหานคร มี 3 สาขา คือ สาขาวงเวียนใหญ่ สาขาสามแยก สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ต่างจังหวัด 2 แห่ง คือ สาขาเชียงใหม่และสาขาพิจิตร5)  หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries) คือ ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทุกชนิดและทุกชื่อที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือผลิตในประเทศอื่น แต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ สำหรับใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย และถือเสมือนว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ หอสมุดแห่งชาติของไทยนอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีสาขาในต่างจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา เชียงใหม่ ลำพูน สิงห์บุรี นครราชสีมา จันทบุรี ฯลฯ
2. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) โดย ทั่วไปหมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็น คำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่ 1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่าง ได้ ดังนี้2.1  ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center) เป็น แหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2.2  ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers) ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)2.3  ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center) หมาย ถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย2.4  ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center) ทำ หน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย2.5  ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center) หมาย ถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ 2.6  หน่วย งานอื่นซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ2.7  รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะ ให้เป็นไป
3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ศูนย์ ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้3.1  ศูนย์ ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย3.2  ศูนย์ ข้อมูล สำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน3.3  ศูนย์ ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ3.4  กระทรวง พาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)
4.หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี 2 ลักษณะ ดังนี้4.1  หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้4.2  หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจตัวอย่างของหน่วยงานทะเบียน คือ กรมทะเบียนการค้า รับจดทะเบียนเป็นแหล่งข้อมูลทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนธุรกิจของคนต่างด้าวกองทะเบียน กรมการปกครอง มีฝ่ายทะเบียนรับผิดชอบงานทะเบียนการปกครอง
5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ศูนย์ วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง
6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) ศูนย์ แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
7. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) จดหมาย เหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้7.1  หอ จดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป7.2  หอ จดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่ง มอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่7.3  หน่วย งานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ7.4  หน่วย งานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย เก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย นโยบายการปฏิบัติงาน การบริหารงาน กิจกรรมทางการเรียนการสอน ฯลฯ เช่น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย7.5  หน่วย งานจดหมายเหตุของวัดและสถาบันศาสนา เก็บรักษาจดหมายเหตุเกี่ยวกับประวัติ พัฒนาการของวัด สถาบันศาสนา และเรื่องราวทางศาสนาที่เกี่ยวข้อง7.6  หน่วยงานงานจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจ และอุตสาหกรรมจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต การลงทุน สิทธิบัตร การตลาดและการจ้าง7.7  หอประวัติบุคคลสำคัญ (Hall of Fame) รวบรวมประวัติเกียรติคุณ และผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา 

ประเภทของสถาบันหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ (http://www.nrru.ac.th/preelearning/panitnan/05.html   วันที่ 15 ก.ย. 2550 ) 

1. ห้องสมุดหรือหอสมุด (Library)
             ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุด เป็นแหล่งสะสมรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชา และสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ            และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการหลักที่อยู่ในห้องสมุด ได้แก่ บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ            บริการตอบคำถามและช่วย การค้นคว้า บริการการอ่าน เราสามารถจำแนกห้องสมุดออกได้เป็น 4 ประเภทตามวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ               1.1   ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)                เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน ในสถาบันการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
               1.2  ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library)                  เป็นหน่วยบริการสารสนเทศของสถาบันที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะ มหาวิทยาลัย     วิทยาลัย    และสถาบันที่เน้นการสอนการค้นคว้าวิจัย  ทำหน้าที่จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่สนองความต้องการด้านการเรียนการสอน  การค้นคว้า และวิจัยของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา  ในขณะนี้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  หลายแห่งใช้ชื่อเรียกต่างกันไป  เช่น    สำนักหอสมุด  สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสาร  ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา   (ประภาวดี  สืบสนธิ์.  2543 : 150)
               1.3  ห้องสมุดเฉพาะ   (Special Library)                         เป็น ห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา โดยทั่วไปสังกัดอยู่ในหน่วยงานทางวิชาการ สมาคมและองค์การเฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดกฎหมาย  ห้องสมุดธนาคาร  ทำหน้าที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ                1.4  ห้องสมุดประชาชน  (Public Library)                  เป็นห้องสมุดชุมชน  ทำหน้าที่จัดบริการแก่ประชาชนทุกระดับความรู้  ทุกเพศทุกวัย  และทุกสาขาอาชีพ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และพัฒนาความเป็นอยู่รวมทั้งคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
              1.5  หอสมุดแห่งชาติ  (National Library)                มี หน้าที่เก็บรวบรวม สะสมรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุ ที่ผลิตขึ้นในประเทศและเกี่ยวข้องกับประเทศนั้น 

2. ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center หรือ Information Center)
                        เป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่อง ให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะหน่วยงานนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศมีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ  ผู้ใช้มักมาใช้ สารสนเทศที่รวบรวมไว้เพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์เอกสารนั้นโดยตรง   เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย ตัวเลข สถิติ สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา  ศูนย์สารสนเทศหลายแห่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของสถาบันนั้นเอง (ครรชิต มาลัยวงศ์ และคนอื่น ๆ. 2537 : 84 - 85) เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย   มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางด้านวิศวกรรมธรณี เทคนิค พลังงานคืนรูป   สิ่งแวดล้อม และเฟอโรซีเมนต์ บางแห่งอาจตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานต่างหาก เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ Technical Information Access Center  (TIAC) 3.  ศูนย์ข้อมูล (Data Center)
                      เป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูล ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่ ดำเนิน การไปแล้วบางส่วน เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสินค้า ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ หรืออวกาศ ตัวอย่างของศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของสำนักงานพลังงานแห่งชาติ 4.  หน่วยงานสถิติหรือหน่วยทะเบียนสถิติ  (Statistical Office)                      เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูลทางสถิติตัวเลขต่าง ๆ เป็นตัวเลขเฉพาะด้านหรือ เฉพาะสาขาวิชา อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ หรือทำขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงานสถิติโดยตรง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ
 5.  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (Information Analysis Center)
                      ศูนย์ วิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมและบริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยนำมาคัดเลือก วิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูลใบข้อมูล  และ ปริทัศน์ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และบริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้สนใจ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ  ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ  เนื่องจากต้องประเมินผลและวิเคราะห์สารสนเทศที่มีอยู่  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
 6.  ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ  (Information Clearing House)
                        ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ   หมายถึง  หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ    ทำหน้าที่แนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม  หรือบางครั้งยังรวบรวมสารสนเทศไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจติดต่อขอมา  โดยจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม   ดรรชนี   สาระสังเขป     หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประมวลผลและแจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)  หอสมุดแห่งชาติของไทย  และห้องสมุดยูเนสโก
  7.  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (Referral Center)
                       เป็นหน่วยงานให้บริการแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้  โดยทางศูนย์จะรวบรวม  จัดทำและปรับปรุงรายการข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบให้ถูก ต้องสมบูรณ์
 8.  หอจดหมายเหตุ หรือหน่วยงานจดหมายเหตุ  (Archive)
                      หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารราชการ เอกสารทางประวัติศาสตร์ อันได้แก่ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์ แผนที่  แผนผัง  แบบแปลน  พิมพ์เขียว  ภาพถ่าย ภาพวาด สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ไมโครฟิล์ม วีดิทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์  เพื่อ เป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการดำเนินงานของรัฐหรือสถาบันเอกชน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย หอจดหมายเหตุจำแนกออกได้ 5 ประเภท คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยและ หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม
 9.  สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
                
เป็น สถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร  แก้วลาย.  2533 : 20-23)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่  ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services)  สำนักงานติดต่อ  และให้คำปรึกษาสารสนเทศ  (Extendion Services – Liason and Advisory)  ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services)  และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network) 
 10.  ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries)
                         เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านโทรคมนาคม



ที่มา  http://planet.kapook.com/tomnakhae/blog/view/64676


1 ความคิดเห็น: